วันจันทร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 9 กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
1. พรบ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2545)
หมวด 3 ระบบการศึกษา
ระบบการศึกษาไทยแบ่งออกเป็น 3 ระบบ คือ
- การศึกษาในระบบ
- การศึกษานอกระบบ
- การศึกษาตามอัธยาศัย
หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา
หมวด 5 การบริหารและการจัดการศึกษา
หมวด 6 มาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา
หมวด 9 เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
2.พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2543
3.พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
4.พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
จุดประสงค์ ของการศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา
  • ทำความเข้าใจกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ IT
  • สามารถปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย
  • สามารถปกป้องสิทธิ์ของตน
  • เพื่อประโยชน์ในการอื่นๆ

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 8 แนวโน้มการวิจัย เทคโนโลยีทางการศึกษา


แนวโน้มการวิจัย เทคโนโลยีทางการศึกษา


รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ โดยได้กำหนดกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศระยะ พ.ศ. 2544-2553 ของประเทศไทย ในการให้ประชาชนคนไทยทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต หลักการทางเทคโนโลยีการศึกษา เป็นนักออกแบบและจัดการการเรียนรู้ ระหว่างคนสู่คน โดยใช้วิธีระบบ การออกแบบระบบการเรียนและสภาพแวดล้อมทางการเรียนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด ขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษา



ขอบข่ายของ AECT

--------------------------------------------------------------




ขอบข่ายทางเทคโนโลยีการศึกษา ศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์


--------------------------------


ลำดับขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย



  • เลือกหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย

  • ศึกษาค้นคว้ารวบรวมความรู้พื้นฐาน และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย

  • ให้คำจำกัดความหัวข้อปัญหาที่จะทำการวิจัย

  • สร้างสมมติฐาน

  • พิจารณาแหล่งที่มาของข้อมูล

  • สร้างเครื่องมือที่จะใช้ในการวิจัย

  • การเก็บรวบรวมข้อมูล

  • การจัดกระทำข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล

  • ติดความผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาข้อสรุป

  • การเขียนรายงานการวิจัยและการจัดพิมพ์


สรุป ::


การวิจัยเป็นกระบวนการที่อาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และวิธีระบบในการแสวงหาคำตอบให้แก่ปัญหาหรือคำถามต่าง ๆ เพื่อให้ได้คำตอบที่น่าเชื่อถือ กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการในการแสวงหาและสร้างองค์ความรู้ใหม่ การวิจัยทางด้านเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งยืนอยู่บนกรอบแนวคิดในศาสตร์และขอบข่ายของเทคโนโลยีทางการศึกษา จึงเป็นตัวบ่งชี้สำคัญในความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการศึกษา




วันพฤหัสบดีที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสื่อ


ทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้

ถนอมพร เลาหจรัสแสง (2541) ได้กล่าวทฤษฏีการเรียนรู้และจิตวิทยาการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา มีดังนี้ 1) ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behaviorism) เป็นทฤษฎีซึ่งเชื่อว่าจิตวิทยาเป็นเสมือนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของพฤติกรรมมนุษย์ และการเรียนรู้ของมนุษย์เป็นสิ่งที่สามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมภายนอก นอกจากนี้ยังมีแนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง เชื่อว่าการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของมนุษย์จะเกิดขึ้นควบคู่กันในช่วงเวลาที่เหมาะสม สื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษาที่ออกแบบตามแนวคิดของทฤษฎีพฤติกรรมนิยมนี้จะมีโครงสร้างของบทเรียนในลักษณะเชิงเส้นตรงโดยผู้เรียนทุกคนจะได้รับการนำเสนอเนื้อหาในลำดับที่เหมือนกันและตายตัว ซึ่งเป็นลำดับที่ผู้สอนได้พิจารณาแล้วว่าเป็นลำดับการสอนที่ดีและผู้เรียนจะสามารถเรียนรู้ได้อย่งมีประสิทธิภาพมากที่สุด 2) ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitivism) เกิดจากแนวคิดของชอมสกี้ที่ไม่เห็นด้วยกับสกินเนอร์ (Skinner) บิดาของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ในการมองพฤติกรรมมนุษย์ไว้ว่าเป็นเหมือนการทดลองทางวิทยาศาสตร์ ชอมสกี้เชื่อว่า พฤติกรรมของมนุษย์นั้นเป็นเรื่องของภายในจิตใจมนุษย์ไม่ใช้ผ้าขาวที่เมื่อใส่สีอะไรลงไปก็จะกลายเป็นสีนั้น มนุษย์มีความนึกคิด มีอารมณ์ จิตใจ และความรู้สึกภายในที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นการออกแบบการเรียนการสอนก็ควรที่จะคำนึงถึงความแตกต่างภายในของมนุษย์ด้วย 3) ทฤษฎีโครงสร้างความรู้ (Scheme Theory) ภายใต้ทฤษฎีปัญญานิยม(Cognitivism) นี้ยังได้เกิดทฤษฎีโครงสร้างความรู้ ( Scheme Theory) ขึ้นซึ่งเป็นแนวคิดที่เชื่อว่าโครงสร้างภายในของความรู้ที่มนุษย์มีอยู่นั้นจะมีลักษณะเป็นโหนดหรือกลุ่มที่มีการเชื่อมโยงกันอยู่ ในการที่มนุษย์จะรับรู้อะไรใหม่ ๆนั้น มนุษย์จะนำความรู้ใหม่ ๆ ที่เพิ่งได้รับนั้นไปเชื่อมโยงกับกลุ่มความรู้ที่มีอยู่เดิม พื้นฐานทางจิตวิทยา 1. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มปัญญานิยม (Cognitivist Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มปัญญานิยม หรือนักจิตวิทยากลุ่มความรู้ความเข้าใจ เชื่อว่ามนุษย์เรียนรู้จากประสบการณ์ ประสบการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์ได้สัมผัสกับสิ่งแวดล้อม จุดเริ่มของการเรียนรู้จะอยู่ที่การรู้จักจำแนกสิ่งต่างๆ 2. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behaviorist Perspective) นักจิตวิทยากลุ่มพฤติกรรมนิยม เชื่อว่าการเรียนรู้คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ คือ

  • แรงขับ (Drive) หมายถึง ความต้องการของผู้เรียน ซึ่งจะจูงใจผู้เรียนให้หาทางสนองตอบต่อความต้องการของตนเอง

  • สิ่งเร้า (Stimulu s) สิ่งเร้าอาจเป็นความรู้หรือการชี้แนะจากครูหรือจากแหล่งการเรียน(สื่อ) ซึ่งจะกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบสนอง

  • การตอบสนอง (Response) เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่สังเกตได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมา

  • การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้รางวัลเมื่อผู้เรียนตอบสนองได้ถูกต้อง

3. การเรียนรู้ตามทัศนะกลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ ( Constructivist Perspective ) นักจิตวิทยากลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อเนื่องจากกลุ่มปัญญานิยม ที่เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากการสร้างสรรค์ของผู้เรียน ด้วยการนำความรู้เดิม (ประสบการณ์) มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์อย่างมีเหตุผล แล้วประมวลเป็นความรู้ใหม่เพื่อนำไปพัฒนาหรือแก้ปัญหาต่อไป



ที่มา : http://cyberclass.msu.ac.th/cyberclass/cyberclass-uploads/libs/html/38422/Unit_1/Unit1_05.htm


วันอังคารที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 6 วัสดุกราฟิก


วัสดุกราฟิก

กราฟฟิค(Graphic) หมายถึง การเขียนภาพด้วยสีและเขียนภาพขาวภาพเขียน ภาพถ่าย และอักษรข้อความรวมกัน ดำ และการเขียนด้วยตัวหนังสือและการสื่อความหมายโดยการใช้เส้น “วัสดุกราฟิค”หมายถึง วัสดุใดๆ ซึ่งแสดงความจริง แสดงความคิดอย่างชัดเจน โดยใช้ภาพวาด

วัสดุกราฟฟิคทางการศึกษา เป็นสื่อการสอนที่สื่อถึงเรื่องราวต่าง ๆ โดยใช้เส้น ภาพวาด ภาพถ่าย และสัญลักษณ์ ที่ใกล้เคียงความเป็นจริง แทนคำพูดซึ่งอาจ อยู่ในรูปแบบของแผนที่ แผนภาพ ภาพโฆษณา ภาพถ่าย การ์ตูน และแผนสถิติ เป็นต้น

ประเภทของวัสดุกราฟิก


  • แผนสถิติ ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตารางเปรียบเทียบความสัมพันธ์หรือ ความแตกต่างระหว่างจำนวนข้อมูล


  • แผนภาพ ใช้แสดงความสัมพันธ์ ของโครงสร้าง หรือการทำงานที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยอาศัยภาพลายเส้น ตัวอักษร สัญลักษณ์ เพื่อแสดง ลักษณะเฉพาะ หรือโครงสร้างที่สำคัญเท่านั้น


  • แผนภูมิ ใช้แสดงความสัมพันธ์ ความต่อเนื่อง ความเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการ ลักษณะสิ่งของ และปรากฎการต่าง ๆ โดยทำเป็นแผ่นภาพ ซึ่งมีสัญลักษณ์ เครื่องหมายและคำอธิบายประกอบเข้าด้วยกัน สามารถเข้าใจได้ง่าย



  • การ์ตูน เป็นภาพสัญลักษณ์ที่ใช้แทนสิ่งต่างๆ เช่น บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวซึ่งเป็นแนวความคิดหรือทัศนะของผู้เขียน เพื่อจูงใจให้แนวความคิด สร้างอารมณ์ขัน หรือล้อเลียน



  • ภาพโฆษณา เป็นทัศนวัสดุที่ใช้แสดงความคิดหรือข้อเท็จจริงด้วยสัญลักษณ์ ภาพประกอบที่สะดุดตา คำขวัญที่กินใจ หรือคำอธิบายสั้นๆ โดยการออกแบบที่ดึงดูดความสนใจของผู้พบเห็นในระยะเวลาอันสั้น สามารถเข้าใจได้ง่าย จดจำได้อย่างรวดเร็ว


  • แผนที่และลูกโลก แผนที่เป็นทัศนวัสดุที่แสดงทิศทาง อาณาเขต ลักษณะภูมิประเทศ และสิ่งต่างๆ บนพื้นโลก โดยใช้ เส้น สี สัญลักษณ์ และการกำหนดมาตราส่วนเพื่อย่นระยะทางและลดขนาดของพื้นที่ให้สามารถสื่อความหมายได้ในที่จำกัด สามารถรับรู้และเข้าใจได้ง่ายในเวลารวดเร็ว ♥ ลูกโลก เป็นวัสดุสามมิติประเภทหุ่นจำลองแบบย่อส่วน โดยย่อส่วนหรือลดขนาดของโลก อาศัยมาตราส่วนกำหนดขนาด และระยะทางที่ใกล้เคียงข้อเท็จจริงมากที่สุด

วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 5 สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

วันจันทร์ ที่ 28 มิถุนายน 2553

สื่อตามประสบการณ์การเรียนรู้ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

สื่อตามประสบการณ์การเรียนรู้

  • การใช้หุ่นจำลอง(Model)

  • ป้ายนิทรรศการ

  • ภาพถ่าย

  • การใช้ตัวหนังสือแทนคำพูด

  • ประสบการณ์ตรง คือ วิทยากรบรรยาย


ประเภทของวัสดุกราฟิกที่ใช้ในงานสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

วัสดุกราฟิก หมายถึง ทัศนวัสดุอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการสื่อความหมายเพื่อแสดงสัญลักษณ์หรือความหมายของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริง แนวคิด และเสริมความเข้าใจโดยอาศัยส่วนประกอบที่เป็นรูปภาพ สัญลักษณ์ แผนภาพ ฯลฯ ซึ่งวัสดุกราฟิกมี 2 ประเภท ได้แก่ วัสดุกราฟิก 2 มิติ และวัสดุกราฟิก 3 มิติ

ประเภทของสื่อวัสดุ

• สื่อวัสดุกราฟิก เป็นวัสดุ 2 มิติ รูปร่างบางแบน เช่น รูปภาพ ตัวหนังสือ และสัญลักษณ์

• สื่อวัสดุ 3มิติ หมายถึง รูปทรงประกอบด้วยขนาดทั้ง 3 ทิศทางคือ ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา ส่วนนูน ส่วนเว้า บางอย่างเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น บางอย่างเป็นสิ่งที่อยู่โดยธรรมชาติ สามารถตั้งแสดงด้วยตัวเอง เช่น

- หุ่นจำลอง (Models) ใช้ในการถ่ายทอดความรู้แทนของจริงในกรณีที่ของจริงไม่สามารถนำมาแสดงได้

- ของจริง(objects) สิ่งเร้าต่างๆ ที่อยู่ตามธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้น มีประโยชน์ ต่อการเรียนรู้ด้วยการแสดงสาระที่เป็นจริงได้ดีกว่าหุ่นจำลอง

- ของตัวอย่าง (specimens)

- ป้ายนิเทศ(bulletin board) ใช้แสดงเรื่องราวต่างๆ เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ข้อความอธิบายภาพ เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ป้ายนิเทศเป็นสื่อที่มีคุณค่าต่อการเรียนการสอน สามารถใช้ได้ทุกขั้นตอนในกระบวนการสอน

หลักและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่นำมาใช้ในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล

หลักการและทฤษฎีทางจิตวิทยาการศึกษา

1.1 ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ที่เป็นพื้นฐานของเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นทฤษฎีที่ได้จาก 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มพฤติกรรม (Behaviorism)

2. กลุ่มความรู้ (Cognitive)

ทฤษฎีจากกลุ่มพฤติกรรมนิยม

นักจิตวิทยาการศึกษากลุ่มนี้ เช่น chafe Watson Pavlov, Thorndike, Skinner ซึ่งทฤษฎีของนักจิตวิทยากลุ่มนี้มีหลายทฤษฎี เช่น ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) ทฤษฎีการเสริมแรง (Stimulus-Response Theory)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้คือ พอฟลอบ (Pavlov) กล่าวไว้ว่า ปฏิกริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งของร่างกายของคนไม่ได้มาจากสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียว สิ่งเร้านั้นก็อาจจะทำให้เกิดการตอบสนองเช่นนั้นได้ ถ้าหากมีการวางเงื่อนไขที่ถูกต้องเหมาะสม

ทฤษฎีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง (Connectionism Theory) เจ้าของทฤษฎีนี้ คือ ทอนไดค์ (Thorndike) ซึ่งกล่าวไว้ว่า สิ่งเร้าหนึ่ง ๆ ย่อมทำให้เกิดการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง จนพบสิ่งที่ตอบสนองที่ดีที่สุด เขาได้ค้นพบกฎการเรียนรู้ที่สำคัญ คือ

  • กฎแห่งการผล (Law of Effect)
  • กฎแห่งการฝึกหัด (Law of Exercise)
  • กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness)

ทฤษฎีการรับรู้

การรับรู้เป็นผลเนื่องมาจากการที่มนุษย์ใช้อวัยวะรับสัมผัส (Sensory motor) ซึ่งเรียกว่า เครื่องรับ (Sensory) ทั้ง 5 ชนิด คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง

จากการวิจัยมีการค้นพบว่า การรับรู้ของคนเกิดจากการเห็น 75% จากการได้ยิน 13% การสัมผัส 6% กลิ่น 3% และรส 3% การรับรู้จะเกิดขึ้นมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับสิ่งที่มีอิทธิพล หรือปัจจัยในการรับรู้ ได้แก่ ลักษณะของผู้รับรู้ ลักษณะของสิ่งเร้าเมื่อมีสิ่งเร้าเป็นตัวกำหนดให้เกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องมีการรับรู้เกิดขึ้นก่อน เพราะการรับรู้เป็นหนทางที่นำไปสู่การแปลความหมายที่เข้าใจกันได้ ซึ่งหมายถึงการรับรู้เป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ถ้าไม่มีการรับรู้เกิดขึ้น การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ การรับรู้จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความคิดรวบยอด ทัศนคติของมนุษย์อันเป็นส่วนสำคัญยิ่งในกระบวนการเรียนการสอนและการใช้สื่อการสอนจึงจำเป็นจะต้องให้เกิดการรับรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด ดังคำกล่าวของ ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์ (2528: 125) และ วไลพร ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม (ม.ป.ป. : 125) ที่กล่าวว่า การที่จะเกิดการเรียนรู้ได้นั้นจะต้องอาศัยการรับรู้ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากการได้รับประสบการณ์ การรับรู้มีขบวนการที่ทำให้เกิดการรับรู้ โดยการนำความรู้เข้าสู่สมองด้วยอวัยวะสัมผัส และเก็บรวบรวมจดจำไว้สำหรับเป็นส่วนประกอบสำคัยที่ทำให้เกิดมโนภาพและทัศนคติ ดังนั้นการมีสิ่งเร้าที่ดีและมีองค์ประกอบของการรับรู้ที่สมบูรณ์ถูกต้อง ก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีด้วยซึ่งการรับรู้เป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการรับรู้

นอกจากนี้ กระบวนการรับรู้ยังสามารถใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอนด้วย ซึ่ง Fleming (1984: 3) ให้ข้อเสนอแนะว่ามีเหตุผลหลายประการที่นักออกแบบเพื่อการเรียนการสอนจำต้องรู้และนำหลักการของการรับรู้ไปประยุกต์ใช้กล่าว คือ

1. โดยทั่วไปแล้วสิ่งต่าง ๆ เช่น วัตถุ บุคคล เหตุการณ์ หรือสิ่งที่มีความสัมพันธ์กัน ถูกรับรู้ดีกว่า มันก็ย่อมถูกจดจำได้ดีกว่าเช่นกัน

2. ในการเรียนการสอนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้ที่ผิดพลาด เพราะถ้าผู้เรียนรู้ข้อความหรือเนื้อหาผิดพลาด เขาก็จะเข้าใจผิดหรืออาจเรียนรู้บางสิ่งที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็นจริง

3. เมื่อมีความต้องการสื่อในการเรียนการสอนเพื่อใช้แทนความเป็นจริงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไร จึงจะนำเสนอความเป็นจริงนั้นได้อย่างเพียงพอที่จะให้เกิดการรับรู้ตามความมุ่งหมาย

อ้างอิงจาก http://5211014307.multiply.com/journal/item/13

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 4 การเรียนรู้ผ่าน e-learing



ในที่ 21 มิถุนายน 2553 กลุ่มนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา(ภาคพิเศษ) ชั้นปีที่1 กลุ่ม402 ที่ลงทะเบียนรายวิชา 423210
ได้รับการเรียนการสอน e-learning จาก ว่าที่เรือตรี ดร. อุทิศ บำรุงชีพ ซึ้งเป็นการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งหรืออาจจะเป็นการเรียนการสอน รูปแบบใหม่เลยกว่าได้ว่า อีกทั้งยังง่ายต่อการส่งงาน เพราะ เราไม่จำเป็นต้องปริ้นหรือเขียนเพื่อไปส่ง แต่สามมารถส่งงานทางอินเตอร์เน็ตได้ ซึ้งเป็นการ ประหยัดค่าใช่จ่ายอีกทั้ง ยังช่วยภาวะโลกร้อนโดยการประหยัดกระดาษอีกด้วย

----------------------------------------------------------------


ประโยชน์ของการเรียนรู้ผ่าน e-learnning ของ มหาวิทยาลัยบูรพา

1. เราสามารถอ่านบทความหรือข้อความได้ตลอดเวลา
2. การเข้าถึงได้ง่ายในการเรียน
3. เพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
4. เป็นการเอื้อต่อการเรียนการสอน เพราะไม่จำกัด เวลา สถานที่
5. ง่ายต่อการทำงานและการส่งการบ้านของตัวนิสิต
6. ตอบสนองความต้องการเรียน ที่ไม่พร้อมทางด้านเวลา
7. ง่ายต่อการปรัปเปลี่ยนเนื้อหา

----------------------------------------------------------------

องค์ประกอบของการสื่อสาร

- ผู้ส่งสาร (Source) คือ บุคล น่วยงานที่เป็นผู้ส่งสาร แหล่งกำเนิดสาร แล้วส่งสารไปยังบุคคลหรือหน่วยงานอื่นด้วยวิธีเดียว หรือหลายวิธี

- สาร (Message) คือ เรื่องราว สิ่งต่างๆ ในรูปข้อมูล ความรู้ ความคิด หรือ อารมณ์ที่ผู้ส่งสารให้ผู้อื่นรับรู้ และเกิดปฎืกิริยาตอบสนอง ประกอบด้วย

- รหัสสาร ทั้งที่ไม่ใช้ถ้วยคำ (กริยา ท่าทาง เครื่องหมาย) และใช้ถ้อยคำ (ภาษาพูด ภาษาเขียน)

- เนื้อหาสาร แบ่งเป็น ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น

- การจัดสาร คือ รวบรวมเนื้อหา เรียบเรียงด้วยการใช้รหัสของสารที่เหมาะสม

- สื่อหรือช่องทาง (Medai or Channel)

สื่อ หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะที่ทำให้สารเคลื่อนที่ไปจากตัวผู้ส่งสาร

ช่องทาง หมายถึง ทางที่ทำให้ผุ่ส่งสาร และ ผู้รับสารติดต่อกันได้

- ผู้รับสาร (Receiver) คือ เป็นปลายทางการสื่อสารที่มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น


- ผล (Effect) สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าหรือไม่รู้เรื่อง ยอมปฎิเสธ พอใจหรือโกรธ สิ่งเหล่านี่เป็นผลของการสื่อสาร


- ผลย้อนกลับ (Freedback) คือ เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ้งผุ้รับส่งกลับมายังผู้ส่ง โดยผู้รับอาจแสดง อาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรปมือ ยิ้ม พยักหน้า ส่ายหน้า เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่าผู้รับมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่



อ้างอิงจาก:
http://coperspy.multiply.com/journal/item/4


----------------------------------------------------------------


ความหมายโดยสรุป ของ e-learning คือ

"การใช้ทรัพย์กรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระแบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมดยงระบบเป็นเครื่อข่ายที่ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที ทุกเวลา และทุกคน" พิจารณาลักษณะ ดังนี้

• เว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
• เว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้องการเนื้อหารายวิชาใด วิชาหนึงอย่างน้อย หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย
• ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากทุกเวลาอิสระ
• มีระบบปฎิสัมพันธ์กับ ผู้เรียน และสามรถเรียนรู้ร่วมกันได้
• มีเครื่องมือที่วัดผลการเรียนได้
• มีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ
• ผู้สอนมีสภาพเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียน ในการค้นหา การประเมิน การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา จากสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีให้บิรการ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า e-learning เป็นระบบการสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บ และเครื่องข่ายอินเตอร์เน้๖ มีสภาวพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้อบ่างมีชีวิตวชีวา (Active Leaning) และการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center Learning) ผู้เรียนเป็นผู้คิด ตัดสินใจเรียน โดยส้ราง ความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ ด้วยตรเอง สามรถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบลุมการเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการเรียนทางไกล และการเรียผ่าน เครือข่ายระบบต่างๆ

E-learning ในประเทศไทย

การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ

• การนำเสนอในลักษณะ Web Based Learning
• การนำเสนอในลักษณะ E-learning


รูปแบบการพัฒนา E-learning ในประเทศไทย

ทั้ง WBI และ E-learning ที่มีอยู่ประเทศไทย พบว่าแต่ละหน่วยงานได้พัฒนาระบบ LMS/CMS ของตนเอง อิงมาตรฐานของ AICC เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ใช้ Web Programming แตกต่างกันออกไปทั้ง PHP, ASP, Flash Action Script, JavaScript ทั้งนี้อาจจะจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง หรืออาจจะพัฒนาโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นการส่วนตัวก็ได้ เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่จะมาจากการขาดงบประมาณและการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมจากผู้บริหาร

นอกจากนี้มีบริษัทภายในประเทศไทยที่พัฒนาซอฟต์แวร์บริหารจัดการการเรียนชื่อ Education Sphere (http://www.educationsphere.com/) คือบริษัท Sum System จำกัด ที่พัฒนา LMS Software ออกมาให้จำหน่ายและพัฒนาให้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นหน่วยงานแรก

รวมทั้งศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็พัฒนาโปรแกรมจัดการหลักสูตรเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนการสอนชนิด Web Based Instruction โดยตั้งชื่อโปรแกรมว่า Chula E-learning System (Chula ELS) ออกมาให้บริการเช่นกัน

ข้อคำนึงในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ

การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ ควรคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้

• ความพร้อมของอุปกรณ์และระบบเครือข่าย เนื่องด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นการปรับเนื้อหาเดิมสู่รูปแบบใหม่ จำเป็นต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบเครือข่ายที่พร้อมและสมบูรณ์ เพื่อให้ได้บทเรียนดิจิตอลที่มีคุณภาพ และทันต่อความต้องการเรียน ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาเรียนได้ทุกช่วงเวลาตามที่ต้องการ ซึ่งในประเทศไทยพบว่ามีปัญหาในด้านนี้มาก โดยเฉพาะในเขตนอกเมืองใหญ่
• ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนและผู้สอน ต้องมีความรู้และทักษะทั้งด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพอสมควร โดยเฉพาะผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะอื่นๆ ประกอบเพื่อสร้างเว็บไซต์การสอนที่น่าสนใจให้กับผู้เรียน
• ความพร้อมของผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมทั้งทางจิตใจ และความรู้ คือ จะต้องยอมรับในเทคโนโลยีรูปแบบนี้ ยอมรับการเรียนด้วยตนเอง มีความกระตือรือร้น ตื่นตัว ใฝ่รู้ มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงความคิดเห็นและศึกษาความรู้ใหม่ๆ
• ความพร้อมของผู้สอน ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้แนะนำ มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ กระตุ้นการทำกิจกรรม เตรียมเนื้อหาและแหล่งค้นคว้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งความพร้อมด้านการใช้คอมพิวเตอร์ การผลิตบทเรียนออนไลน์ และการเผยแพร่บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
• เนื้อหา บทเรียน เนื้อหาบทเรียนจะต้องเหมาะสมกับผู้เรียนให้มากกลุ่มที่สุด มีหลากหลายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกเรียนได้ด้วยตนเอง มีกิจกรรมวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม และเหมาะสมกับความพร้อมของเทคโนโลยี การลำดับเนื้อหาไม่ซับซ้อน ไม่ก่อให้เกิดความสับสน ระบุแหล่งค้นคว้าอื่นๆ ที่เหมาะสม

อ้างอิงจาก: http://e-learning.aidsthai.org/ewl.html


---------------------------------------------------------------


สุดท้ายนี่อยากพูดถึงความประทับใจในการเรียนการสอนครั้งนี่ว่า การได้รับการเรียนรู้ในรูปแบบต่างออกไปทำให้เป็นการเพิ่มความสนใจของตัวผู้เรียนด้วยแล้วนั้นยังทำให้มีเวลาในการหาข้อมูลเพิ่มเติมได้อีกด้วย












วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 3 หัวข้อ พัฒนาสมองด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บบล็อก

นิยามความหมายของ "WEBBLOG"



เป็นเว็ปไซต์สำหรับเขียนบันทึกเล่าเรื่องราวประจำวันเพื่อสื่อสารความรรู้สึกนึกคิด มุมมองประสบการณ์ ความรู้ และข่าวสาร ในเรื่องที่ผู้เขียนท่านหนึ่งๆ(BLOGGER) สนใจเฉพาะ



อ้างอิงจาก: (จันทวรรณ ปิยะวัฒน์,2548)



-------------------------------------------------------------------------------------------------



ประโยชน์ของเว็บบล็อก



๑. เป็นการเผ่ยแผร่ข้อมูลในอีกรูปแบบหนึ่ง



๒. แบ่งปันประสบการณ์ต่างๆด้วยตัวหนังสือ ภาพ วีดีโอ หรื้อรูปแบบต่างๆ



๓. แลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือเรื่องต่างๆของกันและกัน



๔. ได้มีเพื่อนใหม่และอาจชอบสิ่งที่เราสนใจเหมือนๆกัน



๕. ใช่เป็นพื้นที่ขายของทางอินเตอร์เน็ตได้



-------------------------------------------------------------------------------------------------



ความหมายของนวัตกรรม เป้าหมายของนวัตกรรมการศึกษา พร้อมแหล่งอ้างอิง



หมายถึง ความคิด การปฎิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาความทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย (http://tikkatar.is.in.th/?md=content&ma=show&id=2)



ส่วนเป้าหมายของนวัตกรรมการศึกษา คือ การนำเอาสิ่งใหม่ๆเข้ามาอจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการเรียนการสอนหรือการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และทำให้ผู้เรียนเข้าใจได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นและเป็นการจูงใจในการเรียน และช่วยประหยัดเวลาในการเรียนอีกด้วย






-------------------------------------------------------------------------------------------------



ความรู้สึกของกิจกรรมการเรียนการเรียนการสอนวันนี่



มีความรู้สึกสนุกกับการเรียนแบบนี่และยังมีความรู้สึกชอบและรักการเรียนมากขึ้น เพราะ เป็นการเรียนแบบใหม่ที่ไม่เคยมีที่ไหนมาก่อน เป็นการเรียนรู้ด้วยตรงเองอย่างหนึ่งและเป็นความแปลกใหม่ของการเรียนการศึกษาของไทย อีกทั้งยังเห็นความสำคัญของเว็ปให้ใช่ให้เป็นประโยชน์อีกด้วยและได้มีการรับความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติม



-------------------------------------------------------------------------------------------------ขอบคุณ

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 หัวข้อ ชี้ทางเลือกใหม่ให้เป็นครูมืออาชีพด้วยเทคโนโลยีการศึกษา

วันเสาร์ ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๓




ชมตัวอย่างหนังได้ที่ : http://www.youtube.com/watch?v=hsE6_Mpw9cc



ได้ชมภาพยนตร์ดีๆ เรื่องหนึ่งที่คนไทยทุกๆคนควรดู "ครูบ้านนอก บ้านหนองฮีใหญ่" ที่แสดงถึง ครูผู้ที่มีอุดมการณ์และความปรารถนาจะเป็นยิ่งกว่า "ครู"

แง่คิดจากการชมภาพยนตร์
๑.) ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับลูกศิษย์
๒.) ความแน่วแน่ต่อความฝันและความคิดของตัวเอง
๓.) ความรับผิดชอบต่อสังคม
๔.) การอนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ
๕.) การประยุกต์ของใช่ต่างๆรอบตัวเองนำมาใช่ให้เกิดประโยชน์
๖.) รู้จักอดออมประหยัด
๗.) ความกตัญญูต่อ บิดา มารดา ครู อาจารย์ หรือแม้แต่ แผ่นดินที่เราเกิด




--------------------------------------------------------------------------
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา สรุปได้ดังนี้ เป็นการนำหลักการประยุกต์การวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวะกรรมศาสตร์ให้เป็น วัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในการเสนอแสดงและถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้
--------------------------------------------------------------------------
ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
ได้แบ่งออกเป็น 5 ขอบข่าย มีดังนี้
1.) การออกแบบ (Design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้
2.) การพัฒนา (Developement) คือ เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ
3.) การใช้ (Utilization) คือ เป็นการใช้กระบวนการและแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
4.) การจัดการ (Management) เป็นการควบคุมการทางเทคโนโลยีการศึกษาตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ
5.) การประเมิน (Evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน

อ้างอิงจาก: http://richey.exteen.com/20080201/entry


--------------------------------------------------------------------------
พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา






กลุ่มที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งได้แก่ กลุ่มโซฟิสต์ (Sophist) เป็นกลุ่มครูผู้สอนชาวกรีก ได้ออกทำการสอนความรู้ต่างๆ ให้กับชนรุ่นเยาว์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความฉลาดปราดเปรื่อง ในการอภิปราย โต้แย้ง ถกปัญหา จนได้รับการขนานนามว่า เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษากลุ่มแรก และกลุ่มโซฟิสต์มีอิทธิพลต่อทางด้านการศึกษา ได้แก่ โซเครติส (Socretes) พลาโต (plato) อริสโตเติล(Aristotle) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการวางรากฐานของปรัชญาตะวันตก



อ้างอิงจาก: http://learners.in.th/blog/watchana/70569



-------------------------------------------------------------------------------------------------


กิจกรรมสัปดาห์ที่ 1 เปิดโลกหลักทฤษฎีเทคโนโลยีการศึกษาด้วยการค้นคว้า IT

ในการเรียนวิชา 423210
หลักและทฤษฎี
ความคาดหวังจาก การมาศึกษาต่อสาขาเทคโนโลยีการศึกษา


1. ทำให้เราทราบแนวทางของงานด้านเทคโนโลยีการศึกษา
2. ทำให้ข้าพเจ้าเรียนรู้เทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่
3. ทำให้ข้าพเจ้าสนุกกับการเรียนการสอน

กิจกรรมในวันนี่ข้าพเจ้ารู้สึกตื่นเต้นเนื่องจาก อาจารย์ ดร.อุทิศ บำรุงชีพ ได้พาพวกเราเปิดโลก IT ด้วยการอบรมการใช้ฐานข้อมุลสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยบูรพา
http://lib.buu.ac.th/ ซึ่งเป็นหอสมุดที่ใหญ่มากมีทั้งหมด 7 ชั้น ซึ่งข้าพเจ้าและเพื่อนๆ ได้ความรู้ดังนี้

1.) การใช้ฐานข้อมูลต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีการศึกษา


2.) การสืบฐานข้อมูล OPAC


3.) การยืมคืน


4.) การใช้โปรแกรม VPN ในกรณีอยู่นอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยบูรพา


5.) เทคนิคการสืบค้นข้อมุ,ที่ข้าพเจ้าไม่รู้เลยว่าจะมากมายมหาศาล


ข้าพเจ้ามีความรู้สึกประทับใจและชื่นชม ห อ ส มุ ด ม ห า วิ ท ย า ลั ย บู ร พ า เป็นอย่างมาก!