วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 2 หัวข้อ ชี้ทางเลือกใหม่ให้เป็นครูมืออาชีพด้วยเทคโนโลยีการศึกษา

วันเสาร์ ที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๓




ชมตัวอย่างหนังได้ที่ : http://www.youtube.com/watch?v=hsE6_Mpw9cc



ได้ชมภาพยนตร์ดีๆ เรื่องหนึ่งที่คนไทยทุกๆคนควรดู "ครูบ้านนอก บ้านหนองฮีใหญ่" ที่แสดงถึง ครูผู้ที่มีอุดมการณ์และความปรารถนาจะเป็นยิ่งกว่า "ครู"

แง่คิดจากการชมภาพยนตร์
๑.) ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับลูกศิษย์
๒.) ความแน่วแน่ต่อความฝันและความคิดของตัวเอง
๓.) ความรับผิดชอบต่อสังคม
๔.) การอนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม ธรรมชาติ
๕.) การประยุกต์ของใช่ต่างๆรอบตัวเองนำมาใช่ให้เกิดประโยชน์
๖.) รู้จักอดออมประหยัด
๗.) ความกตัญญูต่อ บิดา มารดา ครู อาจารย์ หรือแม้แต่ แผ่นดินที่เราเกิด




--------------------------------------------------------------------------
ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา สรุปได้ดังนี้ เป็นการนำหลักการประยุกต์การวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวะกรรมศาสตร์ให้เป็น วัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในการเสนอแสดงและถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้
--------------------------------------------------------------------------
ขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา
ได้แบ่งออกเป็น 5 ขอบข่าย มีดังนี้
1.) การออกแบบ (Design) คือ กระบวนการในการกำหนดสภาพของการเรียนรู้
2.) การพัฒนา (Developement) คือ เป็นกระบวนการของการเปลี่ยนการออกแบบ
3.) การใช้ (Utilization) คือ เป็นการใช้กระบวนการและแหล่งทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน
4.) การจัดการ (Management) เป็นการควบคุมการทางเทคโนโลยีการศึกษาตลอดจนการวางแผน การจัดการ การประสานงาน และการให้คำแนะนำ
5.) การประเมิน (Evaluation) กระบวนการหาข้อมูลเพื่อกำหนดความเหมาะสมของการเรียนการสอน

อ้างอิงจาก: http://richey.exteen.com/20080201/entry


--------------------------------------------------------------------------
พัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา






กลุ่มที่มีชื่อเสียงกลุ่มหนึ่งได้แก่ กลุ่มโซฟิสต์ (Sophist) เป็นกลุ่มครูผู้สอนชาวกรีก ได้ออกทำการสอนความรู้ต่างๆ ให้กับชนรุ่นเยาว์ ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีความฉลาดปราดเปรื่อง ในการอภิปราย โต้แย้ง ถกปัญหา จนได้รับการขนานนามว่า เป็นนักเทคโนโลยีการศึกษากลุ่มแรก และกลุ่มโซฟิสต์มีอิทธิพลต่อทางด้านการศึกษา ได้แก่ โซเครติส (Socretes) พลาโต (plato) อริสโตเติล(Aristotle) ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการวางรากฐานของปรัชญาตะวันตก



อ้างอิงจาก: http://learners.in.th/blog/watchana/70569



-------------------------------------------------------------------------------------------------


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น