วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

กิจกรรมสัปดาห์ที่ 4 การเรียนรู้ผ่าน e-learing



ในที่ 21 มิถุนายน 2553 กลุ่มนิสิต คณะศึกษาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยีการศึกษา(ภาคพิเศษ) ชั้นปีที่1 กลุ่ม402 ที่ลงทะเบียนรายวิชา 423210
ได้รับการเรียนการสอน e-learning จาก ว่าที่เรือตรี ดร. อุทิศ บำรุงชีพ ซึ้งเป็นการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งหรืออาจจะเป็นการเรียนการสอน รูปแบบใหม่เลยกว่าได้ว่า อีกทั้งยังง่ายต่อการส่งงาน เพราะ เราไม่จำเป็นต้องปริ้นหรือเขียนเพื่อไปส่ง แต่สามมารถส่งงานทางอินเตอร์เน็ตได้ ซึ้งเป็นการ ประหยัดค่าใช่จ่ายอีกทั้ง ยังช่วยภาวะโลกร้อนโดยการประหยัดกระดาษอีกด้วย

----------------------------------------------------------------


ประโยชน์ของการเรียนรู้ผ่าน e-learnning ของ มหาวิทยาลัยบูรพา

1. เราสามารถอ่านบทความหรือข้อความได้ตลอดเวลา
2. การเข้าถึงได้ง่ายในการเรียน
3. เพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
4. เป็นการเอื้อต่อการเรียนการสอน เพราะไม่จำกัด เวลา สถานที่
5. ง่ายต่อการทำงานและการส่งการบ้านของตัวนิสิต
6. ตอบสนองความต้องการเรียน ที่ไม่พร้อมทางด้านเวลา
7. ง่ายต่อการปรัปเปลี่ยนเนื้อหา

----------------------------------------------------------------

องค์ประกอบของการสื่อสาร

- ผู้ส่งสาร (Source) คือ บุคล น่วยงานที่เป็นผู้ส่งสาร แหล่งกำเนิดสาร แล้วส่งสารไปยังบุคคลหรือหน่วยงานอื่นด้วยวิธีเดียว หรือหลายวิธี

- สาร (Message) คือ เรื่องราว สิ่งต่างๆ ในรูปข้อมูล ความรู้ ความคิด หรือ อารมณ์ที่ผู้ส่งสารให้ผู้อื่นรับรู้ และเกิดปฎืกิริยาตอบสนอง ประกอบด้วย

- รหัสสาร ทั้งที่ไม่ใช้ถ้วยคำ (กริยา ท่าทาง เครื่องหมาย) และใช้ถ้อยคำ (ภาษาพูด ภาษาเขียน)

- เนื้อหาสาร แบ่งเป็น ข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็น

- การจัดสาร คือ รวบรวมเนื้อหา เรียบเรียงด้วยการใช้รหัสของสารที่เหมาะสม

- สื่อหรือช่องทาง (Medai or Channel)

สื่อ หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะที่ทำให้สารเคลื่อนที่ไปจากตัวผู้ส่งสาร

ช่องทาง หมายถึง ทางที่ทำให้ผุ่ส่งสาร และ ผู้รับสารติดต่อกันได้

- ผู้รับสาร (Receiver) คือ เป็นปลายทางการสื่อสารที่มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น


- ผล (Effect) สิ่งที่เกิดขึ้นจากการที่ผู้ส่งส่งเรื่องราวไปยังผู้รับ ผลที่เกิดขึ้นคือ การที่ผู้รับอาจมีความเข้าหรือไม่รู้เรื่อง ยอมปฎิเสธ พอใจหรือโกรธ สิ่งเหล่านี่เป็นผลของการสื่อสาร


- ผลย้อนกลับ (Freedback) คือ เป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องจากผลซึ้งผุ้รับส่งกลับมายังผู้ส่ง โดยผู้รับอาจแสดง อาการให้เห็น เช่น ง่วงนอน ปรปมือ ยิ้ม พยักหน้า ส่ายหน้า เพื่อเป็นข้อมูลที่ทำให้ผู้ส่งทราบว่าผู้รับมีความเข้าใจในความหมายที่ส่งไปหรือไม่



อ้างอิงจาก:
http://coperspy.multiply.com/journal/item/4


----------------------------------------------------------------


ความหมายโดยสรุป ของ e-learning คือ

"การใช้ทรัพย์กรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระแบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน เชื่อมดยงระบบเป็นเครื่อข่ายที่ สามารถเรียนรู้ได้ทุกที ทุกเวลา และทุกคน" พิจารณาลักษณะ ดังนี้

• เว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
• เว็ปไซต์ที่เกี่ยวข้องการเนื้อหารายวิชาใด วิชาหนึงอย่างน้อย หรือ การศึกษาตามอัธยาศัย
• ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง จากทุกเวลาอิสระ
• มีระบบปฎิสัมพันธ์กับ ผู้เรียน และสามรถเรียนรู้ร่วมกันได้
• มีเครื่องมือที่วัดผลการเรียนได้
• มีการออกแบบการเรียนการสอนอย่างมีระบบ
• ผู้สอนมีสภาพเป็นผู้ช่วยเหลือผู้เรียน ในการค้นหา การประเมิน การใช้ประโยชน์จากเนื้อหา จากสื่อรูปแบบต่างๆ ที่มีให้บิรการ

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า e-learning เป็นระบบการสอนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเว็บ และเครื่องข่ายอินเตอร์เน้๖ มีสภาวพแวดล้อมที่สนับสนุนการเรียนรู้อบ่างมีชีวิตวชีวา (Active Leaning) และการเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center Learning) ผู้เรียนเป็นผู้คิด ตัดสินใจเรียน โดยส้ราง ความรู้และความเข้าใจใหม่ๆ ด้วยตรเอง สามรถเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ให้เข้ากับชีวิตจริง ครอบลุมการเรียนทุกรูปแบบ ทั้งการเรียนทางไกล และการเรียผ่าน เครือข่ายระบบต่างๆ

E-learning ในประเทศไทย

การจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลในประเทศไทยในปัจจุบัน ได้ก้าวเข้าสู่การใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการนำเสนอ โดยมีรูปแบบการนำเสนอผลงานแบ่งได้ 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ

• การนำเสนอในลักษณะ Web Based Learning
• การนำเสนอในลักษณะ E-learning


รูปแบบการพัฒนา E-learning ในประเทศไทย

ทั้ง WBI และ E-learning ที่มีอยู่ประเทศไทย พบว่าแต่ละหน่วยงานได้พัฒนาระบบ LMS/CMS ของตนเอง อิงมาตรฐานของ AICC เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละหน่วยงานก็ใช้ Web Programming แตกต่างกันออกไปทั้ง PHP, ASP, Flash Action Script, JavaScript ทั้งนี้อาจจะจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง หรืออาจจะพัฒนาโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเป็นการส่วนตัวก็ได้ เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่จะมาจากการขาดงบประมาณและการสนับสนุนที่เป็นรูปธรรมจากผู้บริหาร

นอกจากนี้มีบริษัทภายในประเทศไทยที่พัฒนาซอฟต์แวร์บริหารจัดการการเรียนชื่อ Education Sphere (http://www.educationsphere.com/) คือบริษัท Sum System จำกัด ที่พัฒนา LMS Software ออกมาให้จำหน่ายและพัฒนาให้กับมหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นหน่วยงานแรก

รวมทั้งศูนย์การศึกษาต่อเนื่องแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็พัฒนาโปรแกรมจัดการหลักสูตรเนื้อหาวิชา และการจัดการเรียนการสอนชนิด Web Based Instruction โดยตั้งชื่อโปรแกรมว่า Chula E-learning System (Chula ELS) ออกมาให้บริการเช่นกัน

ข้อคำนึงในการจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ

การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ ควรคำนึงถึงประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้

• ความพร้อมของอุปกรณ์และระบบเครือข่าย เนื่องด้วยการเรียนการสอนผ่านเว็บ เป็นการปรับเนื้อหาเดิมสู่รูปแบบใหม่ จำเป็นต้องมีเครื่องมือ อุปกรณ์ และระบบเครือข่ายที่พร้อมและสมบูรณ์ เพื่อให้ได้บทเรียนดิจิตอลที่มีคุณภาพ และทันต่อความต้องการเรียน ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาเรียนได้ทุกช่วงเวลาตามที่ต้องการ ซึ่งในประเทศไทยพบว่ามีปัญหาในด้านนี้มาก โดยเฉพาะในเขตนอกเมืองใหญ่
• ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ผู้เรียนและผู้สอน ต้องมีความรู้และทักษะทั้งด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเทอร์เน็ตพอสมควร โดยเฉพาะผู้สอนจำเป็นต้องมีทักษะอื่นๆ ประกอบเพื่อสร้างเว็บไซต์การสอนที่น่าสนใจให้กับผู้เรียน
• ความพร้อมของผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องมีความพร้อมทั้งทางจิตใจ และความรู้ คือ จะต้องยอมรับในเทคโนโลยีรูปแบบนี้ ยอมรับการเรียนด้วยตนเอง มีความกระตือรือร้น ตื่นตัว ใฝ่รู้ มีความรับผิดชอบ กล้าแสดงความคิดเห็นและศึกษาความรู้ใหม่ๆ
• ความพร้อมของผู้สอน ผู้สอนจะต้องเปลี่ยนบทบาทจากผู้แนะนำ มาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น อยากเรียนรู้ กระตุ้นการทำกิจกรรม เตรียมเนื้อหาและแหล่งค้นคว้าที่มีคุณภาพ รวมทั้งความพร้อมด้านการใช้คอมพิวเตอร์ การผลิตบทเรียนออนไลน์ และการเผยแพร่บทเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
• เนื้อหา บทเรียน เนื้อหาบทเรียนจะต้องเหมาะสมกับผู้เรียนให้มากกลุ่มที่สุด มีหลากหลายให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเลือกเรียนได้ด้วยตนเอง มีกิจกรรมวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน เลือกใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม และเหมาะสมกับความพร้อมของเทคโนโลยี การลำดับเนื้อหาไม่ซับซ้อน ไม่ก่อให้เกิดความสับสน ระบุแหล่งค้นคว้าอื่นๆ ที่เหมาะสม

อ้างอิงจาก: http://e-learning.aidsthai.org/ewl.html


---------------------------------------------------------------


สุดท้ายนี่อยากพูดถึงความประทับใจในการเรียนการสอนครั้งนี่ว่า การได้รับการเรียนรู้ในรูปแบบต่างออกไปทำให้เป็นการเพิ่มความสนใจของตัวผู้เรียนด้วยแล้วนั้นยังทำให้มีเวลาในการหาข้อมูลเพิ่มเติมได้อีกด้วย












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น